สถิติ
เปิดเมื่อ4/08/2015
อัพเดท15/09/2015
ผู้เข้าชม22345
แสดงหน้า24197
ปฎิทิน
July 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
  




เว็บบอร์ด

ชื่อหมวดหมู่ จำนวนหัวข้อ วันที่อัพเดทล่าสุด
  
ตัวต้านทาน  ( Resistor )
        ตัวต้านทานเป็นตัวที่ทำหน้าที่จำกัดกระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรตามทีได้กำหนดเอาไว้ซึ่งจะมีสัญลักษณ์ที่ใช้เป็น ( R ) และค่าความต้านทานมีหน่วยวัดทางไฟฟ้าเป็น โอมห์ 
 ชนิดของตัวต้านทาน
        ตัวต้านทานที่ใช้ในงานอิเล็กทรอนิกส์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ตัวต้านทานชนิดค่าคงที่ ( Fixed Value Resistor ) และตัวต้านทานชนิดปรับค่าได้ ( Variable Value Resistor ) ซึ่งตัวต้านทานค่าคงที่นี้จะมีค่าความต้านทานที่แน่นอน และเป็นค่าที่นิยมมากในงานด้านอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับตัวต้านทานชนิดปรับค่าได้นั้น จะสามารถเลือกค่าความต้านทานที่ต้องการได้โดยการหมุนที่ปุ่มปรับค่าความต้านทาน

 สัญญลักษณ์ของตัวต้านทาน





























 
21
jk
totocafe
19/03/2021 17:55
     ตัวต้านทานชนิดค่าคงที่  แบ่งได้ดังนี้   
  1. ตัวต้านทานชนิดคาร์บอนผสม ( Carbon Composition Resistor )
          ตัวต้านทานชนิดนี้จะนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายซึ่งจะมีราคาถูก โครงสร้างภายในทำจากวัสดุซึ่งมีคุณสมบัติเป็นตัวต้านทาน โดยที่ปลายทั้งสองข้างจะต่อลวดตัวนำออกมาและบริเวณผิวด้านนอกจะฉาบด้วยฉนวน มีรูปร่างเป็นทรงกระบอก

การที่เรียกตัวต้านทานชนิดนี้ว่าตัวต้านทานแบบคาร์บอนผสม          เนื่องจากวัสดุที่นำมาใช้ทำตัวต้านทานนี้เกิดจากการผสมกันระหว่างผงคาร์บอนและผงของฉนวน ซึ่งการเปลี่ยนอัตราส่วนผสมของวัสดุทั้งสองชนิดนี้จะให้ค่าความต้านทานที่ได้เปลี่ยนแปลงไป ตัวต้านทานชนิดค่าคงที่จำนวน 4 ตัว ซึ่งมีค่าความต้านทานตั้งแต่ 2 โอห์ม จนถึง 10 เมกกะโอห์ม

        ขนาดของตัวต้านทานจะแสดงถึงกำลังงาน ซึ่งอยู่ในรูปของความร้อนที่สามารถแพร่กระจายออกมาได้ ความต้านทานทำหน้าที่จำกัดการไหลของกระแสไฟฟ้าหรืออิเล็กตรอน ดังนั้นสภาวะของการต้านทานหรือขัดขวางการไหลของกระแสไฟฟ้านี้จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดความร้อนขึ้น โดยปริมาณความร้อนที่แพร่กระจายออกมาเมื่อเปรียนเทียบกับหน่วยเวลาจะมีหน่วยเป็น วัตต์ (Watts) และตัวต้านทานแต่ละตัวจะมีค่า อัตราทนกำลัง (Wattage Rating) เฉพาะที่แตกต่างกันออกไป โดยตัวต้านทานขนาดใหญ่จะสามารถที่จะแพร่กระจายความร้อนได้ดีกว่า เช่น ตัวต้านทานขนาดใหญ่มีอัตราการแพร่กระจายความร้อน 2 วัตต์ ในขณะที่ความต้านทานตัวเล็กสามารถกระจายความร้อนในอัตราแค่ 1/8 วัตต์

ค่าความเคลื่อน เป็นปัจจัยที่จะต้องพิจารณาอีกประการหนึ่งที่จะต้องพิจารณา ซึ่งค่าความคลาดเคลื่อนนี้เป็นปริมาณความผิดพลาดของค่าความต้านทานที่แตกต่างกันออกไปจากค่าที่กำหนดไว้ เช่น ค่าความต้านทาน 1000 โอห์ม มีค่าความคลาดเคลื่อน 10 % ดังนั้นค่าความต้านทานที่วัดได้จะอยู่ระหว่าง 900 โอห์ม และ 1100 โอห์ม
 
2. ตัวต้านทานชนิดฟิล์มคาร์บอน ( CarBon Film Resistor )
        ตัวต้านทานชนิดนี้ถูกสร้างโดยการเคลือบแผ่นฟล์มคาร์บอนที่มีคุณสมบัติของค่าความต้านทานลงบนแกนเซรามิค ซึ่งทำหน้าที่เป็นฉนวน หลังจากนั้นให้ทำการตัดแต่งฟิล์มคาร์บอนที่ได้ให้เป็นรูปวงแหวนรอบแกนเซรามิค โดยถ้ามีอัตราส่วนของเนื้อคาร์บอนมีปริมาณมากกว่าฉนวนจะทำให้ค่าความต้านทานที่ได้มีค่าต่ำ แต่ถ้าฉนวนมีอัตราส่วนมากกว่าเนื้อของคาร์บอน ความต้านทานที่ได้ก็จะมีค่าสูง ตัวต้านทานแบบฟิล์มคาร์บอนจะมีค่าความคลาดเคลื่อนต่ำ และสามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิสูงได้ โดยไม่ทำให้ค่าความต้านทานเปลี่ยนแปลงไป นอกจากนั้นสัญญาณรบกวนที่เกิดจากการใช้ตัวต้านทานชนิดนี้ก็มีค่าน้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับตัวต้านทานชนิดคาร์บอนผสม

 
3. ตัวต้านทานชนิดฟิล์มโลหะ ( Metal Film Resistor )
        ตัวต้านทานชนิดฟิล์มโลหะมีรูปร่างลักษณะ การสร้างทำได้โดยการพ่นฟิล์มโลหะให้เป็นแผ่นบางๆ ลงบนเซรามิครูปทรงกระบอก จากนั้นจึงตัดแผ่นฟิล์มนี้โดยให้มีส่วนที่เป็นแผ่นฟิล์มคั่นอยู่กับฉนวนซึ่งเป็นเซรามิค ตัวต้านทานชนิดฟิล์มโลหะนี้จะมีค่าความคลาดเคลื่อนน้อยมาก และยังทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิภายนอกได้ดี นอกจากนี้ยังเกิดสัญญาณรบกวนได้น้อยเมื่อเทียบกับตัวต้านทานคาร์บอนชนิดอื่นๆ

 
4. ตัวต้านทานชนิดไวร์วาว์ด ( Wirewound Resistor )
       โครงสร้างภายในของตัวต้านทานชนิดนี้เกิดจากพันขดลวดรอบๆ แกนเซรามิค ซึ่งทำหน้าที่เป็นฉนวน จากนั้นจึงต่อเข้าด้วยลวดตัวนำจากส่วนหัวและท้านออกมา สำหรับค่าความต้านทานสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยขึ้นอยู่กับความยาวและขนาดของขดลวดที่ใช้พัน
       ตัวต้านทานแบบไวร์วาวด์ ส่วนมากนิยมใช้ในงานที่ต้องการค่าความต้านทานต่ำๆ ทั้งนี้เพื่อให้กระแสไหลผ่านได้ดี ดังนั้นการออกแบบจึงควรให้มีขนาดใหญ่เพื่อช่วยให้สามารถกระจายความร้อนได้มากกว่า ตัวต้านทานแบบไวร์วาวด์นี้จะมีค่าความคลาดเคลื่อนประมาณ 1 % แต่ด้วยโครงสร้างที่ใหญ่และขั้นตอนการผลิตที่ยุ่งยากจึงทำให้ตัวต้านทานชนิดนี้มีราคาแพง


         ตัวต้านทานชนิดนี้มีโครงสร้างตัวต้านทานที่เคลือบด้วยออกไซด์โลหะ ประเภทดีบุกลงบนวัสดุที่ใช้เป็นฉนวน โดยอัตราส่วนของออกไซด์โลหะมีคุณสมบัติเป็นตัวนำต่อฉนวน จะเป็นตัวกำหนดค่าความต้านทานให้กับตัวต้านทานชนิดนี้ คุณสมบัติพิเศษสำหรับตัวต้านทานชนิดออกไซด์ของโลหะ คือ สามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้

 
5. ตัวต้านทานชนิดแผ่นฟิล์มหนา ( Thick - Film Resistor )
 ตัวต้านทานแบบฟิล์มหนามีอยู่ 2 แบบ คือ
ตัวต้านทานแบบ SIP ( Single in - line Package )จะต่อลวดตัวนำออกจากความต้านทานภายในเพียงแถวเดียว ส่วนตัวต้านทานแบบ DIP ( Dual in - Line Package )  จะมีลวดตัวนำ 2 แถว ต่อออกมาภายนอก ซึ่งตัวต้านทานแบบฟิล์มหนาทั้งสองแบบจะได้รับการปรับแต่งให้ค่าความคลาดเคลื่อนประมาณ 2% โดยค่าความต้านทานที่ใช้ในงานทั่วไปของตัวต้านทานชนิดนี้อยู่ระหว่าง 22 โอห์ม ถึง 2.2 เมกะโอห์ม และมีอัตราทนกำลัง ประมาณ 1/2วัตต์



สัญลักษณ์ตัวต้านทานค่าคงที่ในวงจร



 
1
warothai01
ค่าคงที่
25/08/2015 10:25
ตัวต้านทานชนิดปรับค่าได้ ( Variable Value Resistor )
          การปรับปุ่มควบคุมระดับความดัง หรือ วอลลุม ( Volume ) ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวนี้เป็นตัวอย่างของตัวต้านทานชนิดปรับค่าได้ประเภทหนึ่ง   ตัวต้านทานชนิดเปลี่ยนค่าได้โดยอาศัยกลไก ตัวต้านทานชนิดนี้เปลี่ยนค่าได้โดยอาศัยกลไกมีอยู่ 2 แบบ ได้แก่  
- รีโอสตัส ( Rhe o stat )  
- โพเทนชิโอมิเตอร์ ( Po ten tio meter )
รีโอสตัส ( 2 ขั้ว : A และ B )

            รูปลักษณะของรีโอสตัสแบบต่างๆ ดังรูป ก
           สัญลักษณ์ของรีโอสตัส ดังแสดงในรูป ข
           รูป ค จะแสดงโครงสร้างภายในของรีโอสตัสแบบวงกลม
               ซึ่งจะเห็นว่าปลายอีกด้านหนึ่งของผิวสัมผัส เมื่อคันกรีดเคลื่อนที่ออกห่างไปจากบริเวณส่วนที่ขั้วต่ออยู่ จะทำให้ความต้านทานเพิ่มขึ้น ซึ่งจะแสดงตามรูป ง ซึ่งคันกรีดจะเคลื่อนที่ต่ำลงโดยการหมุนแกนตามเข็มนาฬิกา
             ด้วยเหตุนี้กระแสไฟฟ้าจึงไหลผ่านได้น้อยเนื่องจากค่าความต้านทานที่มีค่ามาก ในทางกลับกันถ้าคันกรีดเคลื่อนที่เข้าใกล้ส่วนปลายที่มีขั้วต่ออยู่จะทำให้ค่าความต้านทานลดลง ดังแสดงในรูป จ ซึ่งคันกรีดจะเคลื่อนที่ขึ้นโดยการหมุนแกนทวนเข็มนาฬิกาและกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านรีโอสตัสในกรณีนี้จะมีค่ามากเนื่องจากค่าความต้านทานที่ลดลงนั่นเอง 
เทนชิโอมิเตอร์ ( 3 ขั้ว : A,B และ C )
                รูปแสดงลักษณะภายนอกของโพเทนชิโอมิเตอร์แบบต่างๆ ซึ่งบางครั้งนิยมเรียกอุปกรณ์ชนิดนี้ว่า พอต (Pot) ดังแสดงในรูป ข ความแตกต่างระหว่างโพเทนชิโอมิเตอร์และรีโอสตัส คือจำนวนขั้วต่อใช้งาน ซึ่งขั้วต่อของโพเทนชิโอมิเตอร์จะมี 3 ขั้ว โดยการนำไปใช้งานสามารถต่อค่าความต้านทานได้ 3 แบบ ได้แก่ ระหว่าง A และ B (X) ระหว่าง B และ C (Y) และระหว่าง C และ A (Z) ส่วนที่เพิ่มเข้ามาที่ทำให้โพเทนชิโอมิเตอร์แตกต่างไปจากรีโอสตัส คือ ขั้วที่ 3 ที่ต่อเข้ากับปลายอีกด้านหนึ่งของแถบค่าความต้านทาน
0
25/08/2015 10:38
ต้วต้านทานแบบพิเศษ
ตัวต้านทานชนิดเปลี่ยนค่าโดยใช้ความร้อน
          จากการที่ได้รู้จักกับตัวต้านทานชนิดเปลี่ยนค่าได้แบบรีโอสตัส และแบบโพเทนชิโอมิเตอร์ไปแล้ว ซึ่งทั้งสองแบบจะเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานโดยอาศัยกลไกเพื่อหมุนแกนที่เชื่อมกับคันกรีด เพื่อไปเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานภายใน แต่ยังมีอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนค่าความต้านทานได้โดยอาศัยหลักการให้พลังงานความร้อนแทนซึ่งอุปกรณ์ชนิดนี้มีชื่อว่า
 เทอมิสเตอร์ร์์ (Thermister) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. Positive temperrature Control Thremister (PCT) อุณหภูมิสูงขึ้นค่าความ          
                                                                            ต้านทานจะเพิ่มขึ้น
2. Negative temperrature control thremister (NCT) อุณหภูมิสูงขึ้นค่าความ
                                                                               ต้านทานจะลดลง

                                          สัญลักษณ์ของเทอมิตเตอร์
 
ตัวต้านทานไวแสง หรือ แอลดีอาร์
 โฟโตริซิสเตอร์ ( Photoresistor ) มีชื่อ
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Light - Dependent Resistor ( L D R  )  ตัวต้านทานไวแสง หรือ แอลดีอาร์   ( LDR ) ย่อมาจาก Light Dependent Resistor เป็นตัวต้านทานปรับค่าได้ โดยค่าความต้านทานขึ้นอยู่กับปริมาณแสงที่ตกกระทบ ถ้าแสงที่ตกกระทบมีปริมาณมาก LDR จะมีค่าความต้านทานต่ำ ซึ่งสัญลักษณ์ที่ใช้ในวงจร คือ  

เมื่อถูกแสงจะมีค่าความต้านทานลดลงนั่นเอง
 โฟโตริซิสเตอร์สร้างจากวัสดุนำแสงที่มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ ซึ่งค่าความต้านทานของวัสดุนี้ลดลงเมื่อมีแสงมาตกกระทบ โดยพลังงานแสงจะถูกดูดซึมจากอะตอมที่มีอยู่มากมายในวัสดุนำแสงนี้และทำให้เกิดการปลดปล่อยอิเล็กตรอนที่อยู่วงนอกสุด ( Valence Electron ) ออกมา ด้วยเหตุผลของจำนวนอิเล็กตรอนอิสระมากขึ้น จึงทำให้กระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านโฟโตริซิสเตอร์ได้มาก ดังนั้นจึงทำให้ความต้านทานมีค่าลดลงด้วย
                        การนำอุปกรณ์โฟโตริซิสเตอร์ไปใช้งาน เช่น การนำไปใช้ในอุปกรณ์ปิดเปิด ไฟส่องสว่างภายนอกอาคาร โดยใช้เวลาช่วงกลางวัน แสงสว่างจากดวงอาทิตย์จะทำให้ค่าความต้านทานของโฟโตริซิสเตอร์ไปลดลง และค่าความต้านทานที่ลดลงนี้จะถูกนำไปใช้ในการปิดไฟส่องสว่าง ส่วนในช่วงเวลากลางคืนค่าความต้านทานของโฟโตริซิสเตอร์จะเพิ่มขึ้น ไฟส่องสว่างจะเปิดอีกครั้ง

 
1
warothai01
ต้วต้านทานแบบพิเศษ
25/08/2015 10:51
การต่อตัวต้านทานแบบอนุกรมและแบบขนาน
 
                   
การต่อตัวต้านทานแบบอันดับ (แบบอนุกรม)
             ค่าความต้านทานรวมที่เกิดจากนำตัวต้านทานมาต่อกันแบบอันดับจะมีค่าเท่ากับผลรวมของค่าความต้านทานของตัวต้านทานทุกตัวรวมกัน
สูตรที่ใช้ในการคำนวณหาค่าความต้านทานที่ต่อกันแบบอันดับ


                                 ตัวต้านทานต่อกันแบบอนุกรม
 
                         จากการทดลองการต่อตัวต้านทานแบบอนุกรม 2 ตัว พบว่า  
                         1) กระแสไฟฟ้า I  ผ่านตัวต้านทาน R1 และR2 เท่ากัน
                         2) ความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างปลายความต้านทานทั้งสอง (V) เท่ากับผลบวกของ
ความต่างศักย์ระหว่างปลายตัวต้านทานแต่ละตัว (V1 และ V2)
                         นั่นคือ                                             V         =          V1 + V2
                         จากกฎของโอห์ม                      (IR)        =          (IR1) + (IR2)
                         จะได้                                              R         =          R1 + R2                             
 
 
การต่อตัวต้านทานแบบขนาน

         ค่าความต้านทานรวมที่เกิดขึ้นจากการนำตัวต้านทานมาต่อกันแบบขนานจะมีค่าเท่ากับ ผลรวมของส่วนกลับของค่าความต้านทานทุกตัวรวมกัน
สูตรที่ใช้ในการคำนวณหาค่าความต้านทานที่ต่อกันแบบขนาน

 






 
1
warothai01
การต่อตัวต้านทาน
25/08/2015 11:04
แสดงค่าแถบสีของตัวต้านทานคงที่


ปัจจุบัน  มีแถบสี 5-6 แถบ

หน่วยของความต้านทาน (Unit  of  Resistance)
              ค่าความต้านทานหรือที่เรียกว่า  “รีซีสแตนท์”  (Resistance)  ตัวความต้านทานนี้จะมีหน่วยเบื้องต้นในการวัดเป็น โอห์ม 
            คือ เกิดจากค่าความต้านทานที่ยอมให้กรแสไหลผ่านได้  1  แอมป์  มีแรงเคลื่อนไฟฟ้า  1  โวลต์  ตกคร่อมตัวความต้านทานนี้ แต่ความต้านที่ใช้ในวงจรมีหลายขนาดตั่งแต่ค่าต่ำสุดจนถึงค่าสูงสุด จึงจำเป็นต้องมีหน่วยของความต้านทาน เพื่อช่วยในการอ่านและความสะดวกในการใช้งาน
                1,000  โอห์ม       เท่ากับ       1  กิโลโอห์ม  ( 1 เค )
              10,000  โอห์ม      เท่ากับ      10 กิโลโอห์ม   
            100,000  โอห์ม       เท่ากับ     100 กิโลโอห์ม
          1,000,000  โอห์ม     เท่ากับ   1,000 กิโลโอห์ม หรือ 1เมกะโอห์ม ( 1 เมก )
 
วิธีการอ่านค่าความต้านทาน
การอ่านค่าความต้านทานของรีซีสเตอร์มีอยู่  2  วิธี  คือ
           วิธีที่  1  การอ่านค่าความต้านทาน  ค่าเปอร์เซ็นต์ผิดพลาด  และค่าอัตราทนกำลังไฟฟ้า  จากค่าที่พิมพ์ติดบนตัวรีซีสเตอร์ได้เลย    ส่วนมากจะเป็นรีซีสเตอร์แบบไวร์วาวด์  ซึ่งจะเป็นตัวความต้านทานที่มีขนาดใหญ่
           วิธีที่  2  การอ่านค่าที่เป็นโค้ดสีของความต้านทาน  (Resistor  colour  Code) จะเป็นตัวความต้านทานที่มีอัตราทนกำลังไฟฟ้าต่ำ ๆ ส่วนมากจะเป็นตัวความต้านทานพวก  คาร์บอน, ฟิล์มคาร์บอน, ฟิล์มโลหะ  ซึ่งพอจะจำแนกการอ่านโค้ดสีได้จากลักษณะของตัวความต้านทานได้ดังนี้
        1.  ระบบ  “ หัวถึงปลาย”  (End to center band system)  คือตัวต้านทานที่มีลักษณะการต่อขาใช้งานออกมาตามความยาวกับตัวต้านทาน หรือเรียกว่า แบบสายต่อทางแกน (Axial)
       
2.  ระบบ ตัวหัวจุด”  (Body-end-dot System)  คือ ตัวความต้านทานที่มีลักษณะการต่อขาในแนวรัศมี หรือเรียกว่า แบบสายต่อทางข้าง (Radial)
        อาการเสีย  ตัวความต้านทานเราสามารถตรวจพบอาการเสียอยู่เสมอ คือ ยืดค่า,  ขาด, ความต้านทานไม่คงที่  และตัวความต้านทานไหม้  เนื่องมากจากกระแสไหลผ่านตัวมันมากเกินไป
        การตรวจซ่อม  เมื่อเปลี่ยนตัวความต้านทานควรจะใช้ค่าความต้านทานและอัตราทนกำลังไฟฟ้าเท่าเดิม  อย่าใช้ค่ามากกว่าหรือน้อยกว่าค่าเดิม เพราะจะทำให้วงจรนั้น ๆ ทำงานผิดพลาด ส่งผลให้อุปกรณ์ตัวอื่น   ๆ ในวงจรเสียหายได้
 
1
warothai01
ค่าแถบสีของตัวต้านทาน
25/08/2015 11:14
            1.  แบบ A หรือ แบบ Log ซึ่งมีคุณสมบัติตามสมการ Log  คือค่าจะกระโดดในช่วง
ท้ายตามรูปข้างล่าง
        2. แบบ B หรือ แบบ Linear ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นเชิงเส้น คือ แกน X =1 แกน Y = 1 
 X = 2  Y=2 คือเปลี่ยนแปลงไปเป็นตามลำดับไม่กระโดด
        3. แบบ C เป็น แบบ ผกผันกลับจากแบบ A



สำหรับการนำไปใช้งาน เราสามารถที่จะสลับกันใช้งานได้ทั้ง 3 แบบครับ แต่ว่าเรา
นิยมใช้ แบบ Aส่วนปรับความดังเบา ที่ตำแหน่ง Gain หรือ Volume  และนิยมใช้แบบ B กับ
ภาค ToneControl พวก ปรับทุ่มแหลมครับ Treble Bass ครับ นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึง
เรื่องของ กายภาพ ในการใช้งาน VR แต่ละแบบอีครับเช่น
 แบบชั้นเดียวนี้พบได้ทั้วไปนิยมใช้กับ Volume Gain Treble bass


                                     แบบ Trimmer นิยนใช้บนแผ่นวงจรเนื่องจากมีขนาดเล็ก

    แบบ Slide นิยมใช้ใน Equalizer,Mixer,Volume



      แบบสองชั้น ใช้ใน Volume ของเครื่องขยายเสียงแบบ Stereo

                           สัญลักษณ์ของตัวต้านทานปรับค่าได้








                      ตัวต้านทานไวความร้อน  (thermistor)

               ตัวต้านทานไวความร้อน เป็นตัวต้านทานที่เปลี่ยนค่าความต้านทานตามอุณหภูมิส่วนใหญ่จะใช้กับเครื่องเตือนอัคคีภัย ตู้อบอาหาร มี 2 ชนิดคือ
             1. PCT (Positive Temperature Control Thermistor) เรียกว่า เทอร์มิสเตอร์แบบบวก คือความต้านทานจะแปรผันตรงกับอุณหภูมิ






         2. NCT (Negative Temperature Control Thermistor) เรียกว่าเทอร์มิสเตอร์แบบลบ คือความต้านทานจะแปรผกผันตรงกับอุณหภูมิ
         



ตัวต้านทานไวแสง (Light dependent resistor : LDR)
                       เป็นตัวต้านทานที่เปลี่ยนค่าเมื่อความเข้มของแสงที่ตกกระทบเปลี่ยนไป  โดยเมื่อมีแสงหรือความเข้มของแสงมากขึ้น   วัสดุที่ใช้ผลิต LDR ทำมาจากสารกึ่งตัวนำผสมกัน เช่น  แคดเมียมซัลไฟต์อ (cadmium sulfide) และ แคดเมียมซีลีไนด์ (cadmium selenide)  เป็นอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในเครื่องวัด
แสง  ของกล้องถ่ายรูปเพื่อตรวจสอบปริมาณของแสงขณะถ่ายรูป  และใช้เป็น
ตัวต้านทาน  ในสวิทช์ปิด -เปิดไฟอัตโนมัติ



                          ตัวอย่าง LDR




                      ลักษณะการใช้งานในวงจร

             ประโยชน์ของตัวต้านทาน
          1.เป็นอุปกรณ์ในเครื่องเตือนอัคคีภัย ภายในเครื่องเตือนอัคคีภัยจะมีตัวเทอร์-
มิสเตอร์ตรวจจับไอความร้อนและควันไฟ ทันทีที่มีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นเช่นมีไอความร้อน มีควันไฟ ความต้านทานลดลง สวิตซ์ของเทอร์มิสเตอร์จะเปิด ทำให้กระแสไหลเข้าสู่วงจร หลอดไฟเตือนภัยจะติด หัวฉีดน้ำก็จะฉีดละอองน้ำลงมาโดยอัตโนมัติ
          2.เป็นสวิตซ์ปรับความดังหรือความเร็ว เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายอย่างเช่น พัดลม โทรทัศน์  วิทยุเครื่องเล่นซีดี เครื่องปั่นอาหาร จะมีตัวต้านทานประเภทปรับค่าได้ เป็นส่วนประกอบสำคัญในการควบคุมกระแสไฟฟ้าไหลเข้าสู่วงจร ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้ามีเสียงดังหรือความเร็วตามระดับที่เราควบคุมหรือสั่งการ
          3.เป็นสวิตซ์ เปิด-ปิดไฟอัตโนมัติ  หลอดไฟสาธารณะที่ริมถนนสายสำคัญเปิด-ปิดอัตโนมัติ ภายในหลอดไฟจะมีตัวต้านทานไวแสงหรือ LDR เพื่อตรวจวัดความเข้มของแสง เมื่อมีความเข้มของแสงน้อย ตัวต้านทานไวแสง LDRจะทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ เปิดให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้าสู่วงจร หลอดไฟจึงสว่างขึ้นเมื่อความเข้มแสงมีมากตัวต้านทานไวแสง LDR จะปิดไม่มีกระแสไหลเข้าสู่วงจร หลอดไฟจึงดับลง    










 
1
warothai01
คุณลักษณะการทำงานของ Variable Value Resistor เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ
8/09/2015 09:25